-
- ข้อมูล อบต.
- ข่าว/กิจกรรม
- ข้อมูลการดำเนินงาน
- การป้องกันการทุจริต
- บริการประชาชน
ประวัติความเป็นมา
พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการอยู่อาศัยของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณเพิงผาของถ้ำเพิงปรากฏการประดิษบานรูปเคารพเนื่องในพุทธศาสนาบริเวณถ้ำจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของถ้ำเพิงที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบต่อมาจนถึงประวัติศาสตร์
สิ่งสำคัญ
1. แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ถ้ำเพิง จากการขุดปรับพื้นผิวดินในอดีตพบโครงกระดูกมนุษย์จำนวน 5 โครง และกำไลเปลือกหอย และจากการศึกษาทางโบราณคดีของสำนักศิลปากรที่ 13 สงขลา ใน "โครงการศึกษาวิจัยการตั้งถิ่นฐานและการดำรงชีวิตของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์และแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในจังหวัดสงขลาและสตูล ระยะที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2553" ได้ทำการขุดทดสอบทางโบราณคดี จำนวน 3 หลุมขุดค้น พบหลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่
1) โครงกระดูกมนุษย์ พบจำนวน 1 โครง พบในหลุมขุดค้น TP1 เป็นโครงกระดูกของมนุษย์เพศชาย มีอายุประมาณ 25 -30 ปี โครงกระดูกหันศีรษะไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือถูกฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว พบโบราณวัตถุที่ฝังร่วมกับศพ ได้แก่ เครื่องมือหินและเศษภาชนะดินเผา
2) หลักฐานนิเวศน์วัตถุ ได้แก่ กระดูกสัตว์ เปลือกหอย และร่องรอยกองไฟ
2. พระพุทธรูปปูนปั้นและเจดีย์จำลองปูนปั้น จากการสำรวจทางโบราณคดีในอดีตพบว่าบริเวณถ้ำเพิงประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น จำนวน 16 องค์ ขนาดหน้าตักตั้งแต่ 1 ศอกคืบลงมา สภาพในปัจจุบันมีจำนวนพระพุทธรูปปูนปั้น ซึ่งประดิษฐานบริเวณถ้ำเพิง จำนวน 5 องค์ และมีเจดีย์จำลอง 2 องค์ วางขนาบองค์พระพุทธรูปทั้งสองด้าน พุทธลักษณะของพระพุทธรูปดังกล่าวแสดงฝีมือช่างพื้นถิ่นมีพระพักตร์เรียวรูปไข่ พระเนตรเหลือบต่ำ เม็ดพระศกเป็นหนามแหลม
- การกำหนดอายุสมัย : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ - สมัยประวัติศาสตร์
- การประกาศขึ้นทะเบียน : กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานถ้ำเพิง ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 หน้า 3715